วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การแช่เท้า สำคัญอย่างไร?

(ขอขอบคุณบทความดีๆ ที่ได้จากหลายแหล่งหลายที่ เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเอง)

ร่างกายมีธรรมชาติของการระบายพลังงานที่เป็นพิษจำนวนมากออกทางมือเท้าอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าแพทย์โบราณหลายประเทศมีการกดจุดหรือขูดระบายพิษจากมือและเท้า
เมื่อคนเราใช้มือและเท้าในกิจวัตรประจำวัน กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่มือและเท้า  ก็จะเกิดสภาพแข็งเกร็งค้าง ทำให้ขวางเส้นทางการระบายพิษจากร่างกาย  การแช่ในน้ำอุ่น
จะช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่แข็งเกร็งค้างคลายตัว พลังงานที่เป็นพิษในร่างกายจึงจะระบายออกได้ดี ทำให้สุขภาพดีขึ้น

วิธีทำคือ
ให้ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น ประมาณ ครึ่ง- 1 กำมือ เช่น ใบเตย เบญจรงค์(อ่อมแซบ) ผักบุ้ง บัวบก ย่านาง รางจืด ใบมะขาม ใบส้มป่อย กาบหรือใบหรือหยวกกล้วย เป็นต้น
จะใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ ต้มกับน้ำ 1 ขัน (ประมาณ 1 ลิตร) เดือดประมาณ 5-10 นาทีแล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอรู้สึกสบาย
ถ้าไม่มีสมุนไพรเลยก็ใช้น้ำเปล่าต้มให้เดือดแล้วผสมน้ำธรรมดา ให้อุ่นก็ได้ จากนั้นแช่มือแช่เท้า แค่พอท่วมข้อมือข้อเท้า 3 นาที แล้วยกขึ้นจากน้ำอุ่น 1 นาที ทำซ้ำจนครบ 3 รอบ
โดยทำวันละประมาณ 1-2 ครั้ง ถ้าไม่ค่อยมีเวลาทำเฉลี่ย สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง    ถ้าใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นต้มแล้วรู้สึกไม่สบายก็ปรับใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อนต้ม ถ้ารู้สึกสบายกว่า
ในกรณีที่ แช่น้ำต้มสมุนไพรแล้วมีอาการไม่สบาย ก็ให้งดเสีย แสดงว่าสภาพร่างกายตอนนั้นไม่ถูกกับน้ำอุ่น น้ำร้อน อาจแช่น้ำธรรมดาหรือน้ำสมุนไพรสดที่ไม่ผ่าน
ความร้อนแทน ถ้าทำแล้วรู้สึกสบาย โดยแช่นาน เท่าที่รู้สึกสบาย  

จากการเก็บสถิติ ณ ปัจจุบัน พบว่า
 เมื่อแช่ในน้ำอุ่นพลังงานพิษที่อัดอยู่ในร่างกายจะเคลื่อนออกภายใน 3 นาที หลังจากนั้น พิษของน้ำอุ่นน้ำร้อนจะเคลื่อนเข้าไปทำร้ายร่างกาย เมื่อแช่น้ำอุ่นนานเกิน 3 นาที
จึงมักจะพบว่า มีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายในร่างกาย หลายคนที่เคยมีประสบการณ์ไปแช่น้ำโป่ง เดือดหรือน้ำพุร้อน ถ้าแช่นานเกิน 3 นาที พอขึ้นมาจากการแช่
ก็มักจะมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายต่าง ๆ เพราะพิษจะเคลื่อนออกได้แค่ประมาณ 3 นาที จากนั้นพิษของน้ำอุ่นจะเคลื่อนเข้าทำร้ายร่างกาย
 คนที่มีความรู้ก็จะแช่น้ำอุ่นแค่ 3 นาที แล้วขึ้นจากน้ำอุ่น 1 นาที เมื่อร่างกายเย็นดีแล้ว  พลังงานพิษร้อนในร่างกายก็จะเคลื่อนสวนทางกับความเย็น เมื่อเราแช่ในน้ำอุ่นอีกครั้ง
กล้ามเนื้อก็จะคลายตัว พลังงานพิษร้อนก็จะเคลื่อนออกจากร่างกายได้มาก
 ผู้เขียนพบว่า พิษสามารถเคลื่อนออกได้มากเพียง 3 รอบ  ถ้าเรายังแช่น้ำอุ่นต่ออีก พิษน้ำอุ่นก็จะเคลื่อนเข้าไปทำร้ายร่างกาย

ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง
 ยอดยาดีสุขภาพดีวิถีพุทธ
................................................................................................................................................................................................
มีข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งอื่นๆ คือ ...
     >>  ลู่อิ๋ว ค.ศ. 1125 - 1210  กวีใหญ่สมัยราชวงศ์ซ่งใต้  เป็นผู้หนึ่งซึ่งนิยมการแช่เท้าในน้ำร้อนก่อนเข้านอน ดังจะเห็นได้จากบทกลอนของท่าน ดังนี้
          "เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา                 ทำไร่ไถนาคงไม่ไหว
           เลี้ยงเป็ดเลี้ยงหมูพอสู้ได้        มิเคยอยู่ว่างอย่างเปล่าดาย
           ค่ำลงก่อนนอนพักผ่อนกาย    ลูกหลานหญิงชายช่วยดังหมาย
           รับใช้ ปู่ ตา พาสบาย                ต้มน้ำร้อนให้แช่เท้าเอย"
          
           
             - ล้างเท้าในฤดูใบไม้ผลิ         จะช่วยให้หยางพัฒนา
            - ล้างเท้าในฤดูร้อน                 จะช่วยขจัดความชื้น
            - ล้างเท้าในฤดูใบไม้ร่วง         จะช่วยให้ปอดและลำไส้ชุ่มชื่น
            - ล้างเท้าในฤดูหนาว               จะเพิ่มความอุ่นในตันเถียน(บริเวณในท้องต่ำกว่าสะดือประมาณ ๒ นิ้ว)
              (คำว่า ล้างเท้านั้นแปลตามรูปศัพท์  ความหมายจริงคือแช่เท้า)

 
  
>>  ความเห็นของการแพทย์ของจีนและแพทย์แผนปัจจุบัน  
    การแพทย์ของจีนชี้ให้เห็นว่า  อวัยวะภายในร่างกาย  ล้วนแต่มีความเกี่ยวพันกับเท้า   จุดแทงเข็มบนเท้าทั้งหมดมี  ๖๐ กว่าแห่ง  การแช่เท้าในน้ำร้อนมีผลในการเร่งให้เลือดลมเดินคล่องเส้นเอ็นแผ่ขยายจึงช่วยบำรุงอวัยวะภายใน  ทำให้ยินและหยาง  (ภาวะตรงข้ามที่เป็นคู่กัน)
ในร่างกายของคนเราได้สมดุลกัน  จึงสามารถขจัดโรคภัยไข้เจ็บ  ทำให้สุขภาพสมบูรณ์ได้

แพทย์แผนปัจจุบันเห็นว่า  ที่ฝ่าเท้าของคนเรา  มีเส้นโลหิตกระจายกันมากมาย  การแช่เท้าในน้ำร้อนจะทำให้เส้นโลหิตฝอยขยายตัวกระตุ้นให้โลหิตหมุนเวียนเร็วขึ้น   สนองสิ่งบำรุงให้แก่เท้ามากขึ้น  ทำให้กระบวนการรุเก่ารับใหม่ของส่วนขาพัฒนาขึ้นคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนขาขจัดความเมื่อยล้าได้   
    >>  วิธีแช่เท้าในน้ำร้อน

    วิธีแช่เท้าในน้ำร้อน  คือ  ในขั้นแรกใช้น้ำที่มีอุณหภูมิราว  ๔๐ - ๕๐  ํ C  ปริมาณพอท่วมนิ้วเท้า  แช่ไว้สักครู่จึงค่อย ๆ  เติมน้ำเพิ่มจนสูงถึงกระดูกข้อเท้า อุณหภูมิของน้ำราว  ๖๐ ํ C   ขณะที่เท้าแช่อยู่ในน้ำ  ให้สองเท้าเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง  หรือเอาสองเท้าถูกันไปมาเพื่อให้เลือดหมุนเวียน
ไม่ควรแช่เท้านานเกิน ถ้าแช่นานเกิน 10-20 นาที ควรจะใช้ผ้าชุบน้ำร้อนหรือน้ำเย็นโพกศรีษะ เพื่อช่วยระบายความร้อนออกทางศรีษะ หลังจากนั้น  ยกเท้าขึ้นจากน้ำแล้วเช็ดให้แห้ง  พร้อมที่จะเข้าสู่นิทรารมณ์ด้วยความสงบสบาย


  >> จากสัมผัสใต้ฝ่าเท้าดูแลสุขภาพของคุณได้อย่างไร
 เท้า คืออวัยวะที่คนทั่วไป อาจนึกรังเกียจว่าเป็นของต่ำ แต่หารู้ไม่ว่าเท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญ ที่บ่งบอกถึงสภาพภายในร่างกายว่าปกติหรือมีโรคภัยไข้เจ็บใดๆ แทรกแซงหรือไม่ 
การนวดเท้า ถือว่าเป็นวิชาการบำบัด ที่มหัศจรรย์มากที่แสดงถึงปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่นำเอาความสัมพันธ์ต่อเนื่องของอวัยวะในร่างกายมาใช้ประโยชน์ที่บริเวณเท้าและข้อเท้า แนวความคิดเกี่ยวกับการนวดโดยการกดที่บริเวณที่มีปฏิกิริยาตอบสนองนั้น ได้เริ่มขึ้นในจีนกว่า 2,000 ปีที่แล้ว  และได้แพร่ขยายเข้าไปในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มาจนกระทั่งทุวันนี้ ในศตวรรษที่ 20 ศิลปะแห่งการนวดโดยวิธีการกดจุดที่ฝ่าเท้า ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนได้รับการยอมรับโดยทั่วไป 
ที่ฝ่าเท้าของมนุษย์เรานั้น มีจุดหรือบริเวณที่เราสามารถกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออวัยวะภายในนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฝ่าเท้า ซึ่งเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์โดยย่อ จุดสัมผัสบนฝ่าเท้า. . . มีความสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆ เกือบทุกส่วนในร่างกาย 
ในปัจจุบันแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในประเทศเยอรมันและสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่าร่างกายของคนเราสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 10 ส่วน แต่ละส่วนจะไปสิ้นสุดที่ปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าของแต่ละนิ้ว ต่อมาพบว่าเมื่อกระตุ้นตำแหน่งต่างๆ ที่ฝ่าเท้าสามารถทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้ แสดงว่ามีการติดต่อระหว่างพื้นที่ย่อยๆ ที่ฝ่าเท้ากับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย


 >>  ฝ่าเท้า คือ ?

     ฝ่าเท้า คือ พื้นที่สะท้อนกลับของอวัยวะนั้นๆ ฝ่าเท้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ...

               ส่วนที่ 1   บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า เป็นพื้นที่สะท้อนกลับของศีรษะ
               ส่วนที่ 2   กลางฝ่าเท้า เป็นพื้นที่สะท้อนกลับของทรวงอกและช่องท้อง
               ส่วนที่ 3   ส้นเท้า เป็นพื้นที่สะท้อนกลับของอวัยวะใต้ท้องน้อยและเชิงกราน


 เท้ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ต้องทำงานหนักมาทั้งวัน การดูแลฝ่าเท้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก  ไม่ว่าจะเป็นการแช่น้ำอุ่นหรือนวดกดจุดก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่ อาจจะไม่คุ้นเคยกับการเอาเท้าแช่น้ำอุ่นทุกวันหลังจากเลิกงานกลับมาบ้าน  แต่ผู้คนในเมืองหนาวจำนวนมากจะทำแบบนั้น  ไม่ใช่เพียงเพื่อให้เท้าหายจากความหนาวเหน็บเท่านั้น แต่เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อเท้าอีกด้วย

การดูแลเท้า และฝ่าเท้า
เริ่มต้นจากการแช่เท้าในน้ำอุ่นที่ผสมด้วยสมุนไพรแช่เท้า AROMATIC FOOT BATH ซึ่งอุดมไปด้วยสมุนไพรธรรมชาติ ตะไคร้หอม ขิง ขมิ้นชัน ไพล และสมุนไพรบำรุงผิวอื่นๆ ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรีย เชื้อรา แก้แพ้ อาการคันและกำจัดกลิ่นอันที่เท้าได้

การแช่เท้าในน้ำอุ่น ผสมสมุนไพรแช่เท้า เป็นการดูแลเท้าในเบื้องต้น หลังจากนั้นควรกดจดฝ่าเท้าด้วยตนเองเป็นประจำทุกวัน เพื่อปรับสภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและกระตุ้นระดับฮอร์โมนเพศให้สมดุลย์
การนวดกดจุดฝ่าเท้า
ควรนวดกระตุ้นพื้นที่สะท้อนของเส้นประสาทช่องท้อง (บริเวณ กลางฝ่าเท้า) ก่อนทุกครั้ง 3-5 นาที  แล้วจึงนวดกดจุดอื่นๆ ต่อไปจึงจะได้ผลดี

  >>  พิจารณาความหมายทางการแพทย์จีนได้สารพัด  เช่น เท้าคือส่วนหนึ่งของร่างกาย
เท้าคือส่วนที่สัมพันธ์กับเส้นลมปราณกับเส้นลมปราณ ที่เชื่อมโยงกับขาด้านในเข้าสู่อวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ช่องท้องหน้าอก ลำคอ ศรีษะ  เรียกว่า เท้าเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทุกส่วนรวมถึงอวัยวะภายใน เท้าเป็นทางผ่านของเส้นลมปราณอย่างน้อย 6 เส้น

ถ้าพิจารณาแต่ตัวเท้า ยังถือว่าเท้ามีส่วนที่สะท้อนและสัมพันธ์กับอวัยวะภายใน มีตำแหน่งต่าง ๆ ที่สามารถมีอิทธิพลกับร่างกายส่วนต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน มีคำกล่าวที่ว่า   "ศรีษะร้อน เท้าเย็น ชีวิตไม่ยืนยาว"     "ศรีษะเย็น เท้าร้อน ยมบาลก็หมดปัญญาที่จะเอาไป"  นี่เป็นประโยคหนึ่งที่แพทย์แผนจีนบันทึกไว้ในสมัยราชวงค์ชิง เจิง กัว ฝาน แม่ทัพนามกระฉ่อนที่ปราบปรามพวกกบฎไทผิงจะดูแลสุขภาพตนเองทุกคืนก่อนนอน ด้วยการแช่เท้าในน้ำร้อนเขาทำเช่นนี้ต่อเนื่อง เมื่อเขาอายุ 50 ปีผ่านศึกมามากมายสภาพร่างกายยังแข็งแรง

  >>  ข้อดีของการแช่เท้าด้วยน้ำร้อน
1. การแช่เท้าด้วยน้ำร้อนสามารถป้องกันมือเท้าเย็น  โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว โดยผู้ที่มีภาวะเท้าเย็น
2. การแช่เท้าในหน้าร้อนจะกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด  จากปลายเท้าไปทั่วร่างกายทำให้ลดอาการเมื่อยล้า  เกิดการผ่อนคลายร่างกาย จิตใจ ปรับกระบวนการย่อยสลายอาหารเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานของร่างกาย
3. คนที่ปลายเท้าปวด ชา หรือปวดขา ปวดเข่า สามารถแช่น้ำร้อนลดอาการอักเสบ (ยกเว้นในขณะที่บวมอักเสบ หรือมีการติดเชื้อ) ลดปวดได้
4. คนที่มีอาการเย็นบริเวณท้องน้อย หน้าท้องเกี่ยวข้องกับปวดประจำเดือน ขาไม่มีแรง ปวดท้องกระเพาะอาหาร ลำไส้ อาจแช่ในระดับน้ำสูงขึ้นเหนือเข่าช่วยทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย

 >>  วิธีการแช่น้ำร้อนกับการปฏิบัติตัว
  1. ควรแช่น้ำร้อนอุ่นอุณหภูมิอุ่นพอทนได้ก่อนนอน
  2.อาจจะใช้การนวดกดจุดควบคู่ไปด้วยเช่น จุดหย่งเฉวียน(จุดเส้นไต) เป็นต้น 

 >> เพิ่มเติม จุดหย่งเฉวียน อยู่ตรงไหน
ตำแหน่ง หย่งเฉวียนงอนิ้วเท้าทั้งห้าเข้าหาอุ้งเท้าที่อุ้งเท้าจะปรากฏรอยบุ๋ม จุดจะอยู่ตรงกลางรอยบุ๋มนี้ (รูปที่ 1)
http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs412.snc4/47539_132646520114621_120847137961226_184122_5683427_n.jpg    รูปที่ 1
จุดหย่งเฉวียนนี้ การแพทย์จีน อธิบายว่าเป็นจุดบนเส้นขาเส้ายินไต ซึ่ง เป็นเส้นที่ทอดจากปลายนิ้วก้อยด้านฝ่าเท้า ผ่านจุดหย่งเฉวียนขึ้นไปตามขาด้านใน ผ่านท่อปัสสาวะไปยังไตแล้วผ่านไปยังปอด ขึ้นไปที่คอด้านหน้าและโคนลิ้น เป็นเส้นที่เชื่อมโยงไตและกระเพาะปัสสาวะ (รูปที่ 2)
http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs298.snc4/41262_132646560114617_120847137961226_184123_2441381_n.jpg  รูปที่ 2
3. ถ้ามีการอักเสบของเท้าบวมแดงหรือเป็นแผลหรือแช่น้ำร้อนแล้วรู้สึกมีอาการกำเริบ ปวดเท้าบริเวณที่อักเสบมากขึ้นควรงดการแช่เท้าทันที
4. เวลานอนหลับ ควรห่มผ้าห่มบริเวณหน้าอกและท้องและปลายเท้าให้อบอุ่นเสมอ  เพราะปลายเท้าเย็น จะส่งผลถึงช่องท้องถ้าผู้ที่ปัญหาด้านทางเดินหายใจต้องเพิ่มความอบอุ่นของ คอ แขน ขา ด้วย เพราะแขนขาจะมีเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้อง กับปอดและทางเดินหายใจส่วนบนด้วย
 >>  เทคนิคการทำให้ "ศรีษะเย็น ปลายเท้าร้อน"
มีความหมายมากในทางการแพย์จีนมีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีปัญหาเท้าเย็น  แต่ส่วนบนของลำตัวศรีษะร้อน หรือผู้ป่วยบางรายมีมือเท้าเย็น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่เกิดจากความเสียสมดุลของหยินหยางและเป็นพื้นฐานของระบบภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
บางรายศีระษะส่วนบนร้อนมากเนื่องจากภาวะหยางในร่างกายขึ้นสู่เบื้องบนก็จะเกิดอาการความดันสูง เวียนศีรษะ แสบตา หลอดเลือดสมองแตกร้อนหงุดหงิด นอนไม่หลับ หูมีเสียง
ปลายเท้าที่เย็นทางการแพทย์จีน ถือว่า ไตพร่องไม่มีแรง ผลระยะยาวทำให้เมื่อยเอว เข่าไม่มีแรง เสื่อมสมรรถนทางเพศแก่เร็ว ขี้หนาวการทำงานของร่างกายลดลง เป็นต้น
คนที่มีสุขภาพดี เท้าต้องอุ่น หนักแน่นมีกำลัง  ศีรษะไม่ร้อน ไม่หงุดหงิด ไม่หนัก ตาต้องไม่แดงก่ำ การแช่เท้าด้วยน้ำร้อน จึงเป็นวิธีและเคล็ดลับที่ง่าย สะดวก ประหยัด ปลอดภัย
แหล่งข้อมูล:
http://www.doctor.or.th/node/6631
หนังสือ คลีนิค แพทย์จีน โดย นายแพทย์ภาสกิจ(วิทวัส) วัณณาวิบูล
************************************

http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs312.snc4/40949_132647213447885_120847137961226_184125_7338293_n.jpg 

"พบกับ Blog รูปโฉมใหม่ของบ้านสุขภาพเขาใหญ่และบ้านสุขภาพปทุมธานี 
ได้ที่ http://บ้านสุขภาพล้างพิษตับ.blogspot.com/"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น